หูกวาง











ชื่อพันธุ์ไม้:หูกวาง
ชื่อวิทยาศาสตร์:Terminalia catappa linn.
ชื่อวงศ์:COMBRETACEAE
ชื่ออื่นๆ:
ลักษณะ
ต้น:หูกวางเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง ความสูงประมาณ ๑o-๒o เมตร บางครั้งพบสูงถึง ๓o เมตร มีเรือนยอดหนาแน่น เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ

ใบ:เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับกว้างประมาณ ๘-๑๒ ซม. ยาว ๒-๒๕ซม. ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนค่อนข้างเว้า มีต่อมหนึ่งคู่ กิ่งจะแตกออกเป็นชั้น ๆ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ดอก:ออกเป็นช่อ แบบติดดอกสลับตามซอกใบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นแท่งยาว ๘-๑๒ ซม. ดอกมีขนาดเล็กไม่มีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกสมบูรณ์เพศอยู่ด้านล่าง (บริเวณโคนช่อ) ส่วนด้านบนจะมีดอกเพศผู้อย่างเดียว กลีบเกลี้ยงโคนติดกันปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม ๕ แฉก ไม่มีกลีบดอกเกสรผู้มี ๑o ชั้น ออกดอกสองครั้งใน ๑ ปี คือในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม (หลังจากแตกใบใหม่) และอีกครั้งหนึ่งในฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม

ผล:เป็นผลเดี่ยวในแต่ละผลมี ๑ เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ลักษณะเนื้อไม้  มีสีแดง เป็นกลีบเล็กน้อย มีเสี้ยนละเอียดสามารถขัดชักเงาได้ดี แต่ไม่พบต้นใหญ่มากในประเทศไทย

ประโยชน์
หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ นอกจากนี้แล้วไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างด้วยกันคือ
๑. เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างได้ดี เพราะเป็นไม้ที่มอดและแมลงไม่รบกวาน

๒. ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร (ก่องกานดา,๒๕๒๘)  ทั้งต้น  เป็นยาสมาน แก้ไข้ท้องร่วง บิด ยาระบาย ขับน้ำนม แก้โรคคุททะราด  ราก ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ  เปลือก มีรสฝาดใช้เป็นยาขับลม สมานแผล แก้ท้องเสีย  ตกขาว โรคโกโนเรีย ใบ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท่อนซิลอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับ   ใบที่แดงเป็นยาขับพยาธิ ผสมน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดรักษาโรคเรื้อน ทาหน้าอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก ผลใช้เป็นยาถ่าย
๓. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมบางอย่าง  คือ เปลือกและผล  มีสารฝาดมากสามารถใช้ในอุตสาหกรรมย้อนสีผ้าได้ ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก
 ๔. การใช้ประโยชน์อื่น ๆ เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้  ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย

อ้างอิง:หูกวางhttps://sites.google.com/site/swnphvssastrm5442/tn-hukwang/๔/๒/๖๑