นกยูงไทย

นกยูงไทย (Green Peafowl)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus
วงศ์ : Phasianidae
อันดับ : Galliforme
นกยูงไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่งของประเทศไทยและเป็นนกที่มีความสวยงาม
ชนิดหนึ่งของโลก เป็นนกที่มีคุณค่าและหายาก ซึ่งทั่วโลกมี
จานวนนกยูง ( Pavo spp.)ถึง ๓๙ ชนิดส าหรับในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นกยูงถูกแบ่งออกย่อยตามลักษณะสีขนและถิ่น
การกระจายได้ ๓ subspecies คือ นกยูงชวา (Javanese green peafowl , P. muticus muticus)
นกยูงอินโดจีน (Indo-Chinese green peafowl, P. muticus imperator) และนกยูงพม่า (Burmese
green peafowl, P. muticus specifer )ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อยคือ นกยูงชวา หรือ นกยูงใต้ หรือ Pavo muticus
muticus Linnaeus และนกยูงอินโดจีน หรือ นกยูงเหนือ หรือ Pavo muticus imperator Delacour
ลักษณะทั่วไป
นกยูงไทยจัดเป็นนกขนาดใหญ่ ตัวผู้มีสีเขียวสด บริเวณปีกสีน้ าเงิน ปลายปีกสีน้ าตาล
เข้ม หัวมีหงอนขนงอกชี้ขึ้นเป็นกระจุกสีเขียวมันวาว ด้านบนศี รษะตั้งแต่ด้านหลังจนถึง
หน้าผากจรดโคนจงอยปากมีขนละเอียดขดเป็นปุ่มเล็กๆอัดกันแน่นสีน้ าเงินเข้มเป็นมัน ใบหน้า
ทั้งสองข้างเป็นแผ่นหนังมีสีฟ้าและสีเหลืองล้อมลูกตาและหูตามล าดับ ขนคลุมหางด้านบนยาว
มากที่ปลายมีแผ่นขนแบนๆเป็นวงกลมหรือที่เรียกว่าแววมยุราซึ่งจะใช้ส าหรับร าแพนเกี้ยวตัว
เมียและจะหลุดร่วงหลังฤดูผสมพันธุ์แล้วงอกขึ้นมาใหม่ ส่วนตัวเมียเต็มวัยมีลักษณะคล้ายตัวผู้
แต่สีเป็นมันวาวน้อยกว่า แผ่นขนคล้ายเกล็ดที่ปกคลุมบริเวณคอ อกและหลังมีขนาดเล็กกว่า
ขาสั้นกว่า ขนคลุมหางสั้นกว่ามากยาวไม่เกินขนหางและไม่มีแววมยุรา นกยูงใต้มีขนาดเล็กกว่า
นกยูงเหนือ หนังบริเวณหูและแก้มมีสีเหลืองสดกว่า ลูกนกยูงมีขนบริเวณคอละเอียดและอ่อน
นุ่มสีเหลืองครีม ส่วนปีกมีขน primary สีน้ าตาลอ่อน จงอยปากและแข้งมีสีเนื้อ

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     นกยูงมีการกระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก
     นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     นกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
     การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือ

นกยูง หรือ ที่เรียกว่า "บุหรง" บุหรง จะแปลว่า นก หรือ นกยูงก็ได้ เราจะพบคำนี้บ่อย ๆ ในวรรณคดีไทย
นกยูงชนิดนี้จะมีขนาดลำตัวยาว 120-210 เซนติเมตร มีขายาวสมส่วนทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหงอน
เป็นเส้นขน สีเขียวเหลือบชี้ตรงอยู่บนหัว 
สำหรับประเทศไทย นกยูงไทย แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ชนิดย่อย (sub species) คือ
1. สายพันธุ์พม่า (Burmese green peafowl) P.m. imperator มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้
ของแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย และ ในประเทศ พม่า และ ไทย
2. สายพันธุ์อินโดจีน (Indo-chinese green peafowl) P.m. muticus มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัมของ
อินเดีย มณฑลยูนนานของจีน พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา และ เหนือบริเวณคอคอดกระของไทย
3. สายพันธุ์ชวา (Javanese green peafowl) P.m. muticus มีถิ่นกระจายตั้งแต่ใต้คอคอดกระของไทย
จนถึงคาบสมุทรมาลายู และ หมู่เกาะชวา แต่ไม่ปรากฏพบในสุมาตรา และ บอร์เนียว